ACCOUNTING
accountine
หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ผลงาน
ชิ้นที่1
ชิ้นที่2
ชิ้นที่3
ติดต่อ
การบัญชี
หมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนของบันทึกรายการทางการค้า ได้แก่ การเขียนบันทึกรายการทางการค้า การจำแนกแยกประเภทหมวดหมู่ทางการค้า การสรุปผลการดำเนินงาน รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลของนักบัญชี
ประวัติการบัญชี
การบัญชีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ในช่วงแรกๆก็เป็นแค่การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรกับมูลค่าเหล่านั้น ส่วนวิชาการบัญชีที่มีพื้นฐานเหมือนกับระบบคณิตศาสตร์ (ระบบบัญชีคู่ ซึ่งหมายถึงการบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินโดยมีการบันทึกทั้งด้านบวก (เดบิท หรืออาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านซ้าย) กับ ด้านลบ (เครดิท หรืออาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านขวา) โดยที่การบันทึกแต่ละครั้งจะต้องมียอดรวมด้านบวกรวมกับด้านลบเป็นศูนย์) เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีก่อนปี ค.ศ. 1543 โดย Luca Pacioli ได้พิมพ์หนังสือชื่อว่า Vennice ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี โดยพื้นฐานของการบัญชีทั้งหมดมาจากสมการว่า"สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน" ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายถือเป็นส่วนหนึ่งของทุน
วงจรบัญชี
วงจรบัญชี Accounting Cycle หรือวัฎจักรทางการบัญชี
คือ ลำดับขั้นตอนการทำบัญชี เริ่มจากการบันทึกเอกสารรายการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นกับกิจการลงในสมุดบัญชีและสรุปผลรายงานทางการเงินของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในแต่ละงวดบัญชี นักบัญชีต้องทำงานซ้ำกันทุกรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ให้ได้ผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินเพื่อใช้ในการวางแผนและตัดสินใจของธุรกิจอย่างมีประสิทธbภาพ และมีประสิทธิผล วงจรบัญชีสามารถแยกได้ดังนี้
1.การวิเคราะห์รายการค้า ( Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
2.การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน)
3.การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ
4.การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม
5.การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม และงบดุล
6.การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการทำบัญชี
- เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้า
- เพื่อให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่าช่วงเวลานั้นๆมีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของอยู่เป็นจำนวนเท่าใดและอย่างไรเพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและประกอบการตัดสินใจในการบริหารของเจ้าของกิจการ
- เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์
- เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย
- เพื่อเป็นเครื่องมือนำมาใช้ในการคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายแก่รัฐ
เรียนจบบัญชีทำงานอะไร??
"นักบัญชี "
ถือเป็นถือเป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่ร่ำเรียนมาโดยตรงทำงานในสายงานบัญชี จนมีประสบการณ์มากพอสมควร ผ่านความรับผิดชอบเป็นสมุห์บัญชี หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชีมาก่อน จึงจะได้รับการยอมรับให้เป็นนักบัญชี
" ผู้ทำบัญชี"
เป็นวิชาชีพที่ปัจจุบันมีการตรากฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองในอาชีพนี้โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายแต่อาจไม่ใช่ "นักบัญชี" หากว่าผู้นั้นยังขาดประสบการณ์การทำงานในหน้าที่ทางบัญชี และเช่นเดียวกัน "นักบัญชี"ผู้มีความสามารถและประสบการณ์ ไม่อาจจะเป็นผู้ทำบัญชีได้ หากว่าขาดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาตามที่กฏหมายกำหนด
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี
1 รับทำบัญชี
2 ตรวจสอบบัญชี
3 รับวางระบบบัญชี
4 รับเขียนโปรแกรมบัญชี
5 ที่ปรึกษาภาษีอากร
6 เป็นวิทยากร ผู้สอนบัญชี ภาษีอากร
ลักษณะงาน
ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ ได้แก่ผู้ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการธุรกิจ สถาบันเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการดูแลการทำบัญชี และการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห็รายการธุรกิจและบันทึกผลทางการเงิน การรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนในการทำบัญชี และเอกสารทางการเงิน รวมทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบบัญชี การวางแผนทางบัญชี และการวางระบบทางบัญชีแก่สถานประกอบการต่างๆ
คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ...
ควรเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ , ซื่อสัตย์ , ละเอียด , ชอบการติดต่อประชาสัมพันธ์กับคนทั่วไป , รักความก้าวหน้า , มีความคิดริเริ่ม , มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหา , วิเคราะห็งานได้อย่างมีระบบ , ตัดสินใจเร็ว , มีความสนใจและตื่นตัวในเรื่องทั่วไปและก้าวหน้าทันโลก , เพราะงานที่เกี่ยวกับการบัญชี การพาณิชย์ในองค์การธุรกิจ เป็นงานที่ท้าทายและต้องแข่งขันกับคู่แข่ง ต้องมีการเคลื่อนไหวให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ , มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา , ถนัดในเรื่องของคณิตศาสตร์ พอสมควร เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เร็วและถูกต้อง
โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
1. เป็นสมุห์บัญชี หรือตำแหน่งเกี่ยวกับบัญชีขององค์การธุรกิจ หรือองค์การรัฐบาล
2. ทำหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ หรือแผนกการเงิน ในบริษัทเอกชนหรือห้างร้านต่างๆ
3. ทำงานในธนาคาร บริษัทประกันภัย
4. ทำงานในองค์การรัฐบาลในหน้าที่ผู้บริหารการเงิน ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน
5. ประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาต
6. เป็นอาจารย์สอนวิชาบัญชีในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ
สามารถพัฒนางานเลื่อนระดับเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการ และธุรกิจเอกชนได้ในโอกาสต่อไป หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอกก็ได้
ACCOUNTING